วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

เมียชั่วของชายที่ไม่เอาไหน (ฉบับหนังเอวี)




“ผู้หญิงนะไม่มีสุขหรือทุกข์หรอกครับ ส่วนผู้ชายนะมีแต่ทุกข์ ต้องสู้กับความหวาดกลัวทุกเมื่อเชื่อวัน”
คำพูดของโอตานิ ชายทีเพิ่งขโมยเงินห้าพันเยนจากร้านเหล้าแห่งหนึ่ง จนเจ้าของร้านต้องไปเอาเรื่องถึงบ้าน แทนที่จะอยู่แก้ปัญหา เขากลับไม่ยอมรับผิด และวิ่งหนีไป ทิ้งให้ภรรยาและลูกน้อยต้องแบกรับภาระหนี้สินที่ตัวเองก่อไว้ และน่าจะเป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของโอซามุผู้เขียนเรื่องสั้น “เมียชายชั่ว” นี้เองเช่นกัน
โอตตานิพูดกับซัตจัง สาวเสริฟ์ร้านเหล้าประจำของเขา ขณะเดียวกัน ซัตจังก็คือภรรยาของเขา ที่ต้องผันตัวมาทำงานนี้เพื่อหาเงินใช้หนี้ให้สามีนักเขียนหนุ่มไส้แห้ง จอมขี้เหล้า ซัตจังเริ่มรู้สึกสนุกกับการออกมาทำงานข้างนอก จนเผลอพูดกับสามีไปว่า “ถ้ารู้ว่าสนุกแบบนี้ น่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ตั้งนาน” ต่อจากคำนี้ก็เป็นคำพูดของโอตานิด้านบน นั่นเอง
 “ต่อให้เป็นสุดยอดม้า แต่ถ้าเป็นตัวเมีย ได้ยินว่าค่าตัวก็ถูกลงครึ่งหนึ่งค่ะ” คำพูดของซัตจัง ที่ครั้งหนึ่งเคยพูดเหย้าแหย่กับลูกค้าหนุ่มมากหน้าหลายตา ที่ต่างต้องตาในความงามของออเจ้า ก็เป็นอีกหนึ่งความรู้สึกของโอซามุผู้เขียนที่ต้องการถ่ายถอดสถานภาพทางสังคมของเพศหญิงเช่นกัน
 ต่อมาในคืนฝนตกคืนหนึ่ง คืนที่สามีไม่มาดื่มที่ร้านดังเดิม และลูกค้าหนุ่มคนหนึ่งอาสาพาซัตจังกลับบ้าน แต่แล้วในรุ่งสางของวันต่อมา ซัตจังตกเป็นของลูกค้าชายหนุ่มคนหนึ่งโดยไร้ทางขัดขืน
รุ่งเช้าเธอออกไปทำงานปรกติ จนได้เจอกับสามีของตัวเอง ที่กำลังตัดพ้อหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ด่าเขาว่าเป็นเดนมนุษย์ ไม่เอาไหน
 “เดนมนุษย์ก็ไม่เห็นเป็นไรนี่ค่ะ ขอแค่พวกเรามีลมหายใจก็พอแล้ว” คำพูดนี้ ซัตจังพูดกับสามี และดูเหมือนจะเป็นบมสรุปของทั้งเรื่อง ที่มนุษย์ต่างถูกทึ้ง ถูกทำให้สูญสิ้นความเป็นคน จากกฎเกณฑ์มาตรฐานทางสังคมที่ใช้วัดระดับคุณค่าของคน
 คำถามของผมคือ โอซามุ มีท่าทีอย่างไรต่อเพศหญิงในสังคมญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองกันนะ
เพราะแม้เรื่อง “เมียชายชั่ว” จะใช้ “ผู้หญิง” เป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก แต่จงรู้ไว้เถอะนี่คือเรื่องที่ผู้ชายอย่างโอซามุแต่งมันขึ้นมา ผู้ชายที่ขายความตายของตัวเองในงานเขียน ผู้ชายที่ #สูญสิ้นความเป็นคนแต่ไม่ยอมสูญสิ้นความเป็นชาย ผู้ชายมากรักที่ชวนหญิงสาวที่เขาแอบคบชู้ไปฆ่าตัวตาย แต่ตัวเองกลับรอดตายมาได้ และเอาเรื่องนี้มาขายได้อีกหลายงาน
 เขาคือผู้ชายที่ชื่อว่า “ดะไซ โอซามุ” บรรพบุรุษของความเศร้าเหงา แปลกแยก และหน้าบางของผู้ชายญี่ปุ่น (ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านวรรณกรรมญี่ปุ่น ดังนั้นผมจึงขอฟันธงว่า โอซามุ เป็นแบบอย่างของผู้ชายเหงา ๆ แปลกแยกกับสังคมในวรรณกรรมของญี่ปุ่นยุคหลัง รวมถึงมุราคามิด้วย)
 “เมียชายชั่ว” ของโอซามุ ต้องการบอกอะไรกับคนอ่าน เป็นคำถามที่น่าคิด นักวิจารณ์หนังสือบางคนมองว่ามันคือฉากหลังของการเป็นชาย-หญิงของญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมาจนถึงยุคแพ้สงคราม สะท้อนความแปลกแยกระหว่าง ‘ปัจเจก’ กับ ‘สังคม’ ของคนญี่ปุ่น และไม่ว่าเพศไหนต่างก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน
 ระหว่างบรรทัดที่มากไปกว่านั้น
การอธิบายฉากหลังของเนื้อเรื่อง “เมียชายชั่ว” โดยการแยก ซัตจังออกจาก โอตานิ และแยกตัวละครทั้งสองออกจากโอซามุ คงเป็นการอ่านที่พลาดเนื้อหาบางประการไป นั่นอาจทำให้เราตกหลุมพรางของโอซามุเข้าอย่างจัง อย่าลืมว่าทั้งสองตัวละครกับอีกหนึ่งนักเขียนคือคนเดียวกัน ซัตจังคือโอตานิและโอซามุ โอตานิก็คือซัตจังและโอซามุ และโอซามุก็คือทั้งซัตจังและโอตานิ
 สำหรับผมซึ่งเป็นนักเดาแบบจงใจ มองว่าสิ่งที่แฝงฝังอยู่ในเนื้อเรื่องนอกจากฉากทะมึนมืดของสงครามโลก ความแปลกแยกของปัจเจกกับสังคม คือมุมมองต่อความสัมพันธ์เรื่องเพศ ความเป็นชาย-หญิง ของคนญี่ปุ่นนับแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
 #อะไรคือความหวาดกลัว ของผู้ชายญี่ปุ่นในงานของโอซามุ และเหตุใดผู้หญิงญี่ปุ่นในสายตาของโอซามุจึง ‘ไม่มีสุขและทุกข์’ นี่คือหลักใหญ่ใจความที่คนอ่านงานเมียชายชั่วมักไม่พูดถึง เพราะมัวแต่ไปติดกลไกของเดนมนุษย์
 หากเอาตามที่ผมเดามั่ว ๆ อย่างจงใจไปในที
สังคมญี่ปุ่นไม่ใช่สังคมชายเป็นใหญ่ (ซึ่งต่างจากบ้านเราที่ผมมองว่า เป็นสังคมชายเป็นใหญ่) สังคมญี่ปุ่นคือสังคมที่สร้างความเป็นชายจนล้นเกิน พยายามทำให้ทุกอย่างในสังคมเป็นชาย สังคมคาดหวังกับผู้ชาย ภาระทุกอย่างนอกบ้านตั่งแต่งานบริษัทจนถึงงานประเทศชาติถูกวางไว้บนบ่าของผู้ชาย
 และนั่นคือความหวาดกลัว ที่โอซามุพูดถึง พวกเขาจึงแสร้ง จึงต้องอับอาย จึงต้องมีศักดิ์ศรีไว้คุ้มกะลาหัว พวกเขาจึงเลือกที่จะตายมากกว่าแบกรับความอับยศใด ๆ การตายของเพศชายถูกทำให้ยิ่งใหญ่ไปด้วยความกล้าหาญ อาบไปด้วยความเศร้าเหงาเกินบรรยาย ก่อนที่มันจะถูกทำให้เป็นความตายอันสง่างามในวรรณกรรมยุคหลัง
 การพยายามฆ่าตัวตายของถึงสี่ครั้งของโอซามุ อาจมองได้ว่ามาจากโรคจิตเภทของเขา แต่ผมมองว่า มันมาจากภาวะที่สังคมสร้างความเป็นชายให้ผู้ชายญี่ปุ่นอย่างล้นเกิน ผู้ชายต้องออกรบ ต้องเสียสละ ต้องเป็นผู้นำปฏิวัติ ต้องเป็นที่ยอมรับ ซึ่งโอซามุไม่สามารถพาตัวเองไปถึงจุดสุดยอดของสิ่งเหล่านั้นได้เลยในช่วงชีวิตของเขา
เขาเคยพยายามด้วยการเขียนจดหมายอ้อนวอนขอให้คณะกรรมการมอบรางวัลให้กับงานเขียนของเขา และบอกว่า เขาคงอยู่ไม่ได้หากไม่มีความสำเร็จใด ๆ ในชีวิตเลย
 ไม่ว่าจะผ่านมากี่ทศวรรษ “ผู้ชายญี่ปุ่น” (อ่อลืมไปต้องวงเล็บว่า “จำนวนหนึ่ง” เพื่อไม่ให้เกิดการเหมารวม) ก็เป็นกลุ่มคนที่เลือกหันหน้าเข้าหาความตายมากที่สุดยามประสบพบเจอเรื่องเลวร้ายในชีวิต ถามผมว่าพวกเขาอยากตายจากความผิดหวังล้มเหลว เช่นนั้นหรือ คงไม่ใช่ อาจต้องพูดว่าพวกเขาอยากตายเสียจากความเป็นชายอันล้นทะลักในสังคมญี่ปุ่นต่างหาก
 แล้วทำไมผู้หญิงในความคิดของโอซามุถึงไม่มีทั้งสุขและทุกข์
ญี่ปุ่นมีสำนวนอยู่ว่า “ดัน-ซง-โจะ-ฮิ” (男尊女卑;dan-son-jo-hi) หรือแปลเป็นไทยว่า “เคารพผู้ชาย ไม่ใส่ใจผู้หญิง” เอาตัวเลขมายำกันเลยดีกว่า World Economy Forum ประกาศดัชนีความไม่เท่าเทียมกันทางเพศระหว่างชายหญิงปี 2015 ปรากฏว่า ในจำนวน 145 ประเทศ ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 101 ด้วยตัวเลข 0.670/1 ขณะที่ไทยอยู่อันดับที่ 60 ด้วยตัวเลข 0.794/1
 คอลัมนิสต์บางท่านถึงกับตีความว่า “สถิตินี้แสดงว่าผู้หญิงไทยเป็นใหญ่ได้มากกว่าผู้หญิงญี่ปุ่น” ผมอ่านแล้วได้แต่ขำ ๆ แต่เอาเถอะคงไม่ใช่เวลามาเถียงว่าผู้หญิงที่ไหนใหญ่กว่ากัน เพราะข้อมูลนี้ชี้ชัดแค่ว่า สังคมญี่ปุ่นยังคงเป็นสังคมที่สร้างความเป็นชายแบบล้นเกินอยู่นั่นเอง (ตามทฤษฏีของผม)
 โอซามุเป็นผู้ชาย แต่ไม่หาญกล้าพอจะพูดคำว่า “เดนมนุษย์ก็ไม่เห็นเป็นไร ขอแค่มีลมหายใจก็พอ” ด้วยน้ำเสียงของผู้ชายเองในเรื่องสั้นของเขา แต่ใช้น้ำเสียงของผู้หญิงแทน ทั้งที่มันคือประโยคที่ผู้ชายญี่ปุ่นอย่างโอซามุอยากจะพูดแทบตาย แต่พูดไม่ได้ เพราะความเป็นชายของสังคมมันล้นเกิน  ขนาดว่าคนที่เป็นเกย์ หรือ กระเทย ในญี่ปุ่น ยังต้องพยายามสร้างความเป็นชายมากกว่า เพศชายจริง ๆ เสียอีก
 อีกเรื่อง “โอะซัน” หนึ่งใน 6 เรื่องสั้น “เมียชายชู้” ของโอซามุ ได้เผยให้เห็นความหน้าอดสูของผู้ชายญี่ปุ่นอย่างโอซามุอีกครั้ง ด้วยการหยิบยืมปากของผู้หญิงมาพูดสิ่งที่ผู้ชายอยากพูด
เรื่องโอซันกล่าวถึง สามีที่แอบเป็นชู้กับรุ่นน้องในที่ทำงาน เมื่อภรรยารู้ว่าสามีคงมีผู้หญิงอื่น สามีกับชู้จึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย (หนีความผิด?) แต่แทนที่จะยอมรับว่า “ตัวเองทำผิด” ผู้ชายกลับอ้างอุดมการณ์ อ้างเรื่องปฏิวัติกลบเกลื่อน ในจดหมายลาตายของเขาแก่ภรรยาว่า
 “ผมเลือกจบชีวิตพร้อมผู้หญิงคนนี้หาใช่เพราะความรัก ผมเป็นสื่อมวลชน สื่อมวลชนมักยุยงส่งเสริมให้ผู้คนปฏิวัติบ้าง ทำลายล้างบ้าง แต่พวกตนกลับไม่เข้าร่วม แอบหลบลี้หนีมาปาดเหงื่อเสียทุกครั้ง ช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าประหลาดพิศวง เป็นปีศาจร้ายแห่งยุคสมัยปัจจุบัน ผมไม่อาจทนความอดสูเช่นนี้ได้ จึงตัดสินใจปีนขึ้นสู่ยอดไม้กางเขนแห่งนักปฏิวัติเสียเอง ข่าวอื้อฉาวของชายผู้เป็นสื่อมวลชน สิ่งนี้ไม่น่าจะเคยปรากฏมาก่อนไม่ใช่หรือ หากความตายของผมพอจะมีส่วนช่วยให้ปีศาจร้ายในยุคปัจจุบันรู้สึกอับอายหรือสำนึกผิดบาปได้แม้เพียงเล็กน้อย ผมก็จะยินดียิ่ง” (ผู้เขียนเปลี่ยนจากคำว่า ‘ฉัน’ เป็น ‘ผม’)
 นี่คือมรดกตกทอดของการสร้างความเป็นชายที่ล้นเกินในสังคมญี่ปุ่น ความเป็นชายที่หน้าบางเกินกว่าจะรับข้อบกพร่องของตัวเองได้ ต่างจากหญิงสาวที่โอซามุมักมองว่าพวกเธอไม่สุขและไม่ทุกข์ เพราะไม่ต้องรับแรงกดดันเหมือนเพศชาย ฉะนั้นพวกเธอจึงไม่อายที่จะพูดสิ่งที่ผู้ชายอยากพูดแต่พูดไม่ได้ และโอซามุจึงให้ภรรยาของสามีที่นอกใจลำพันด่าสามีของตัวเองว่า
 “(แม้) แต่ความรู้สึกต่อภรรยายังไม่อาจเปลี่ยนได้ ซ้ำยังอวดอ้างความยิ่งใหญ่น่ากลัวของไม้กางเขนแห่งการปฏิวัติเสียอีก ระหว่างนั่งรถไฟไปสุวะกับลูกทั้งสามเพื่อรับศพสามี เหนือกว่าอารมณ์โกรธหรือโศกเศร้า ดิฉันกลับบิดเร่าทรมานเพราะความเหลวไหลไร้สาระเกินจะระอา”
 โอซามุได้เลือกจะหยิบจับด้านเย็นเยือกใต้หน้ากากความเป็นชายของญี่ปุ่น มานำเสนอผ่านตัวละครที่เป็นหญิงสาวอย่างหน้าไม่อาย เมื่อผมเข้าใจโอซามุดังนี้ และเขียนมาถึงท่อนนี้ ก็ให้เกิดขนลุกชูชันว่า กูเองก็เป็นผู้ชายที่น่ารังเกียจเช่นนั้นเหมือนกัน และคำว่า ‘หน้าตัวเมีย’ ที่พวกผู้หญิงเอามาด่าผู้ชาย ก็สมควรได้รับรางวัลคำยอดเยี่ยมแห่งสหัสวรรษเลยทีเดียว
 เมียชายชั่วฉบับเอวี
อาศัยคำพูดสองประโยคของโอซามุที่ว่า “ผู้หญิงนะไม่มีความสุขหรือทุกข์หรอกครับ” กับ “ผู้ชายมีแต่ทุกข์ ต้องต่อสู้กับความหวาดกลัวทุกเมื่อเชื่อวัน” ผมพยายามหาหนังเอวีที่จะสะท้อนถึงคำพูดสองประโยคนี้มา ซึ่งก็บังเอิญอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะมี (อาจเพราะผมมั่วจนมี 555)
ADN-043 ผู้ชายมีแต่ทุกข์ต้องสู้กับความหวาดกลัวทุกเมื่อเชื่อวัน
ไปดูเรื่องแรกเลยครับ AND-043 แสดงโดย Yui Hatano หรือน้องยุ้ยขวัญใจชายไทยหลายคน เป็นหนังของค่าย Attackers หนังเกี่ยวกับ สองสามีภรรยาที่แต่งงานกันมาได้สักระยะ ทั้งสองไปเยี่ยมครูของสามีที่น่าจะเป็นนักเขียนชื่อดัง ที่กำลังป่วยนอนอยู่ในโรงพยาบาล ส่วนสามีน่าจะเป็น บ.ก. หรือคนรับต้นฉบับจากอาจารย์คนนี้ เหตุการณ์วันแรกผ่านไปไม่มีปัญหา นอกจากสายตาหื่น ๆ ของครูที่จ้องมองภรรยาคนอื่น
Yui Hatano รับบทเป็นเมียชั่วของชายที่ไม่เอาไหน
วันต่อมาเธออาสาไปเยี่ยมครูที่โรงพยาบาล และเธอก็พยายามดูแลครูอย่างดี ถามเอาเสื้อผ้าไปซักให้ เพราะรู้ดีว่าอนาคตของสามีขึ้นอยู่กับอาจารย์นักเขียนท่านนี้ เธอสังเกตเห็นความหวาดหวั่นในหน้าที่การงาน ความเศร้าหงอยระหว่างทานข้าว ของสามี
 ความฝันและอนาคตของสำนักพิมพ์ของสามีขึ้นอยู่กับสุขภาพของอาจารย์ท่านนั้น และปัญหาหลักของงานเขียนของอาจารย์ท่านนี้ก็คือ ผู้หญิงไม่ค่อยชอบอ่านงานของแก และสามีก็ไม่กล้าบอกอาจารย์ตรง ๆ ภรรยาจึงบอว่าวันนี้คุณต้องกล้าที่จะพูดกับเขาตรง ๆ เรื่องงาน
 ผิดคาดเพราะอาจารย์ยืนยันว่า งานของเขานั้นทำมาเพื่อผู้ชาย แล้วเกี่ยวอะไรกับผู้หญิง เขาไม่ได้เขียนเรื่องความรักสักหน่อย เมื่อถูกดุ สามีทำได้แต่ก้มหน้าก้มตา และอ้อนวอนขอร้องอาจารย์อย่างหนัก เหตุการณ์เหล่านี้อยู่ในสายตาของภรรยาทั้งหมด
สองสามีภรรยาไปเยี่ยมนักเขียนชื่อดัง

และนั่นคือที่มาของการแก้เนื้อเรื่องของนวนิยาย และทันทีที่อาจารย์มองมาที่ภรรยาคนสวยของ บ.ก หนุ่ม ก็คิดแผนชั่วขึ้นมา เขาอ้างว่าหากไม่มีผู้หญิงอยู่ข้าง ๆ เขาจะเขียนงานไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผมขอยืมภรรยาของคุณหน่อย” โดยบอกว่าแค่ถ่ายรูปเท่านั้น เพราะเป็นวิธีที่จะเข้าใจผู้หญิงได้ เพื่อให้งานออกมาดี


ข้อแลกเปลี่ยนของนักเขียนจอมหื่น ขอยืมเมีย บก.หนุ่ม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเขียน
สามีทนดูไม่ได้จึงลุกหนีไป
Yui ได้แต่ทำใจรับความจริง มองสามีที่เดินผ่านไป
ฝ่ายสามีออกมา ก็ทำได้แค่ตีอกชกหัว

เรื่องราวผ่านไปเหมือนไม่มีอะไร เมื่อออกจากโรงพยาบาล นักเชียนมากินเลี้ยงที่บ้านของ บก.หนุ่ม และขืนใจภรรยาของเขาอีกครั้ง


เธอรักษาครอบไว้ได้ สามีกลับไปทำงาน มีหน้ามีตาตามปกติ
แต่ก็ต้องแลกมาด้วยบางสิ่งที่เธอต้องแบกรับต่อไปในฐานะเมียชายชั่ว

นี่คงเป็นเรื่องย่อ เพราะต่อจากนั้นเป็นเรื่องยาวที่พวกคุณควรไปดูด้วยตาตัวเอง แล้วจะเข้าใจสิ่งที่โอซามุพูดว่า “ผู้ชายนะมีทุกข์ เพราะต้องต่อสู้กับความหวาดกลัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน” และจะเข้าใจคำพูดอันน่าอับอายที่เขาจับยัดใส่ปากของซัดจังที่ว่า “เดนมนุษย์ก็ไม่เห็นเป็นไรนิค่ะ แค่มีลมหายใจก็พอ” บัดนี้ผมเห็นสมควรว่าถึงเวลาแล้วที่ คำ ๆ นี้ #ควรจะกลับเข้าที่เข้าทางของมัน #กลับมาหาผู้ชายที่เป็นเจ้าของคำพูดที่แท้จริง

NACS -003 ผู้หญิงนะไม่มีสุขหรือทุกข์หรอกครับ
มาที่เรื่องที่สองที่เข้ากับคำพูดของโอซามุ คือเรื่อง NACS-003 แสดงโดย Akane Aoi (ขวัญใจคนใหม่ของผมเอง) เรื่องราวของสองสามีภรรยา เดินทางมาทำงานต่างจังหวัด แล้วพักบ้านพักของใครสักคนน่าจะเป็นคนรู้จักของฝ่ายชาย และเหมือนจะมีเรื่องร้ายเกิดกับเขา (คาดว่าภรรยาเขาน่าจะเสียไปแล้ว)





คือเรื่องนี้ถ้าเป็นหนังระดับฮอลลิวูด ก็เป็นแนวจิตวิทยาสำรวจจิตใจของคน ใช้การเล่าเรื่องที่ทำให้คนดูเขวว่า เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงหรือเป็นเพียงสิ่งที่ตัวละครจินตนาการขึ้นมาเอง จนจบเรื่อง เราก็อาจไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่เรารู้แน่ว่า จินตนาการดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้จิตใจของหญิงสาวแน่นอน
ฉากเซ็กฉากแรกค่อนข้างมั่นใจว่า “เธอฝันไปเอง” เพราะเหตุการณ์มันย้อนแย้งเรื่องลำดับเวลาพอสมควร คือหลังจากที่เธอเห็นผู้ชายคนดังกล่าวเปลือยในห้องน้ำ เธอก็เข้านอนกับสามีตามปกติ แต่จากสีหน้าแววตาของเธอก็จะรู้ว่าผิดหวังที่สามีไม่ทำการบ้าน
ก่อนจะนอนเธอยังคงครุ่นคิดถึงภาพของชายหนุ่มในตอนเช้า
ภาพตัดมาที่เธอทำความสะอาดบ้าน แต่ถูกชายหนุ่มเข้ามาขืนใจ
อย่างไรก็ตามหลังจากเสร็จกิจ ภาพก็ตัดมาที่บนเตียงนอนเดิมก่อนที่เธอจะหลับ เป็นการบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นด้านบนนั้นเธอฝันไป


ตื่นเช้ามาเหตุการณ์บังเอิญเหมือนในฝัน ชายหนุ่มมาที่บ้านตอนเธอทำความสะอาด


ฝ่ายหญิงรู้สึกตกใจเล็กน้อย จึงรีบพูดคุยและรีบปิดประตู


ฉากทรุดตัวกับบานประตู คือฉากที่เผยให้เห็นถึงความรู้สึกผิดของหญิงสาว
ชายหนุ่มที่มาหา รู้สึกแปลกใจ และอาจรู้ถึงความรู้สึกลึก ๆ ของหญิงสาว

อีกครั้งที่เธอ ช่วยเหลือตัวเองด้วยการจินตนาการถึงชายหนุ่ม


อย่างไรก็ตามหนังก็สร้างจุดที่ทำให้คนดูต้องคิดต่อว่า ฉากเซ็กสุดท้ายที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพียงจินตนาการหรือเรื่องจริง ดูฉากสุดท้ายเรื่องมันคาใจพอ ๆ กับเรื่อง Inception เลยทีเดียว

จุดเริ่มต้นของฉากเซ็กสุดท้าย เธอใส่ชุดขาวเดินเข้ามาที่บ้านหลังเดิมที่มีชายหนุ่มอยู่
ฉากเซ็กเริ่มขึ้น แต่แตกต่างไปจากเดิมคือ ฝ่ายชายดูเหมือนจะแสดงอาการแตกต่างจากตอนที่เธอฝัน คือถนุถนอมเธอมากขึ้น และครั้งนี้ฝ่ายหญิงก็มีรอยยิ้มปรากฎอย่างมีนัย
หลังจากฉากเซ็กจบ หนังตัดกลับมาที่ฝ่ายหญิงนั่งทาลิปสะติกหน้ากระจกด้วยความผ่อนคลาย แต่สังเกตุว่าสีเสื้อยังเหมือนเดิมก่อนไปหาชายหนุ่ม
ฉากสนทนาบนรถเมล์ระหว่างเดินทางกลับในตอนเย็น เผยให้เห็นแววตาของหญิงสาวที่ทำให้เราต้องมาคิดต่อว่า เธอรู้สึกเช่นไรกันแน่
แต่ทั้งหมดทั้งมวลหนังมันเล่าเรื่องความรู้สึกของผู้หญิงในฐานของความรู้สึกที่ชัดเจน แต่คลุมเครือ คือรู้ว่ามีอารมณ์ทางเพศชัดเจน แต่ถูกทำให้ไม่ชัดเจน คลุมเครือว่าสุขหรือทุกข์ ราวกะว่าจะมีสุขหรือทุกข์ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะสิ่งจำเป็นกว่าคือ เธอต้องเก็บไว้ให้มิด และรู้สึกทั้งผิดทั้งสุขกับการเสพสมในจินตนาการของตัวเอง
 เรื่องนี้เล่าต่างจากหนังแนวเดียวกันที่พล็อตเรื่องทั่วไป คือ ผู้ชายไม่มีเวลา ทำงานไม่ใส่ใจเรื่องบนเตียง ผู้หญิงมีอารมณ์ทางเพศ แล้วมีอะไรกับผู้ชายคนอื่นจริง ๆ แต่เรื่องนี้กลับทำให้คนดูอย่างเราต้องมาตั้งคำถามว่า ตกลงแล้วสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่
 แม้กระทั่งรอยยิ้มของเธอบนกระจกที่สะท้อนเงาของตัวเองในฉากแต่งหน้าก่อนออกเดินทางกลับ ก็ยังฝังใจผมอยู่ว่าความรู้สึกนั้นมันคืออะไรกันนะ หรือแม้แต่เงาของตัวเองในกระจก ก็จินตนาการขึ้นมา และหากหญิงสาวพูดได้เธอก็อาจจะพูดเหมือนซัตจังว่า
 เดนมนุษย์ก็ไม่เห็นเป็นไรนิค่ะ แค่มีลมหายใจก็พอ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

วาร์ปเลย 'เนียร์-บวรรัตน์' สาวสวยหน้าใสสไตล์เกาหลีที่จะมากระชากใจหนุ่มๆ


มีสาวสวย น่ารักสไตล์แบ๊วๆ มาฝากทุกๆคนค่ะ “น้องเนียร์” นอกจากจะมีผิวที่เรียบเนียนเปล่งประกายด้วยออร่าบวกกับหน้าตาอันแสนน่ารักแล้ว เธอยังมีความสามารถในการเต้นบัลเลต์อีกด้วย อยากรู้จักเธอกันแล้วตามไปสัมภาษณ์พร้อมๆกันเลย





คลิกที่นี่